WEBSITE WELLNESS CHECKING LIST

Pheerakarn Sirivejabandhu

20.05.2021 —

โปรแกรมตรวจสุขภาพเว็บไซต์เบื้องต้นด้วยตนเอง

อยากให้คุณมองเว็บไซต์ของคุณผ่านกระจกสะท้อนและตอบคำถามดังนี้…

1. เว็บไซต์ของคุณนั้นเคยมีประวัติเสียหรือไม่?

( ) เคย ( ) ไม่เคย

ประวัติเสียนั้นหมายถึง ไม่เคยซื้อ Back links , ไม่เคยทำ Content duplicate , ไม่เคยยิงลิ้งค์เข้าหรือออกแบบผิดปกติ หรือเข้าหลุมทราย(Sand Box) หากคำตอบคือไม่เคยทำสิ่งเหล่านี้…ก็ถือเป็นฤกษ์งามยามดี หรือหากเคยก็ให้ทราบไว้ว่าอาจจะต้องใช้เวลามากขึ้นสักหน่อยแต่ก็คุ้มค่าในระยะยาวอย่างแน่นอน

2. เว็บไซต์ของคุณนั้นปลอดภัยมากน้อยแค่ไหนสำหรับ Google

โดย Google นั้นเริ่มปรับให้อัลกอริทึมนั้นมองเห็นลิ้งค์ประเภทที่ขึ้นต้นด้วย HTTPS มากกว่า HTTP ด้วยเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานของผู้ใช้ ทั้งนี้ ท่านจำเป็นต้องชั่งใจให้ดีเสียก่อนหากเว็บไซต์ของท่านนั้นมีอายุโดเมนมานานหรือติดอันดับมาบ้างแล้วเพราะการเปลี่ยนมาใช้ HTTPS นั้นมีโอกาสเสี่ยงสูงที่อันดับที่เคยสร้างไว้นั้นจะสลายหายไปในพริบตา แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ HTTPS นั้นถูกบังคับใช้เป็นนัยแล้ว เพราะเมื่อเว็บไซต์ใดก็ตามไม่ปรับเปลี่ยนหน้าเว็บจะแสดงข้อความเตือนว่าเว็บไซต์นั้นๆไม่ปลอดภัย และในอนาคตอันใกล้นั้นคงเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติในการสร้าง SEO บน Google อย่างไม่ต้องสงสัย

3. เช็คเวลาในการโหลดเว็บไซต์ของท่านบนกูเกิ้ลว่าใช้เวลาโหลดนานแค่ไหน จาก “Google page speed”

(ควรให้อัตราการโหลดนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ ดี ถึง ดีมาก)
*เพิ่มเติมไม่ควรมีภาพที่ใหญ่เกินไปหรือมากเกินไปเพราะจะส่งผลให้การทำงานของ Bots ไม่สมบูรณ์*

4. เว็บไซต์ของคุณนั้น Compatible กับทุกแพลตฟอร์มหรือไม่?

หากว่าคำตอบคือไม่
คุณจำเป็นต้องเตรียมเวลาและงบประมาณเพื่อเพิ่มความฟังก์ชั่นนี้โดยเร็วเพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆของเว็บไซต์ยุคใหม่ เมื่อลูกค้าเปิดหน้าเว็บของคุณ ไม่ว่าจะบนแพลตฟอร์ม มือถือ ไอแพต หรือคอมพิวเตอร์ของพวกเขา เว็บไซต์ควรแสดงภาพที่พอดีกับหน้าจอเหล่านั้นเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานและข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อเวลาในการดาวน์โหลดเว็บไซต์ของคุณอย่างมากอีกด้วย

5. เว็บไซต์ของคุณ VS เว็บไซต์ในฝัน

เว็บไซต์ของท่านทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด?
เมื่อได้คำตอบเหล่านั้นแล้วให้ท่านเริ่มทำการดังต่อไปนี้…ท่านจะต้องลองเขียนหรือวาด SITE MAP ออกมาจำนวน 2 ชุด ชุดที่หนึ่ง เป็น SITE MAP บ้านหรือหน้าเว็บที่ต้องการให้เป็น กับ กลับไปดูหน้าเว็บปัจจุบันของตัวเองแล้วร่างออกมาอีกหนึ่งชุด โดยเปรียบหน้าเว็บไซต์เสมือน “บ้าน” หนึ่งหลังโดยแจกแจง ห้องต่างๆภายในบ้านและจุดเชื่อมโยงของห้องแต่ละห้อง เขียนออกมาให้เป็นสารบัญ การเขียน SITE MAP จะทำให้ท่านเห็นภาพรวมของบ้านหรือหน้าเว็บไซต์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านจะพบว่าหน้าบ้านของท่าน รกไปหรือไม่ สะดวกต่อการใช้งานหรือไม่ เนื้อหาที่มีครอบคลุมหรือไม่ เนื้อหาปัจจุบันสอดคล้องกับจุดประสงค์ในหัวข้อนั้นๆหรือไม่ และที่สำคัญที่สุดเว็บไซต์ของท่านสอดคล้องกับคำตอบของท่าน หรือไม่!! ตัวอย่างเช่น

บ้านในฝัน (เว็บไซต์ที่ต้องการ)

บ้านของฉัน(เว็บไซต์ปัจจุบัน)

  • 1. หน้าแรก
    • ภาพปก หรือ ภาพข่าวประชาสัมพันธ์
    • ส่วนล็อคอินเข้าสู่ระบบสำหรับสมาชิก
    • ส่วนเชื่อมเข้าหน้าบทความต่างๆ
    • แถบเมนูต่างๆ : หน้าแรก เกี่ยวกับ บทความ ข้อมูลติดต่อ
  • 2. เกี่ยวกับ
    • ภาพประกอบ
    • เนื้อหาเกี่ยวกับ แบรนด์ สินค้า ประวัติความเป็นมา
    • แถบเมนูต่างๆ : หน้าแรก เกี่ยวกับ บทความ ข้อมูลติดต่อ
  • 3. บทความ
    • หัวข้อบทความต่างๆ เชื่อมเข้าสู่หน้าเนื้อหาบทความ
    • แถบเมนูต่างๆ : หน้าแรก เกี่ยวกับ บทความ ข้อมูลติดต่อ
  • 4. หน้าเนื้อหาบทความต่างๆ
    • ภาพประกอบ / วีดีโอประกอบ
    • เนื้อหา บทความ
    • แถบเมนูต่างๆ : หน้าแรก เกี่ยวกับ บทความ ข้อมูลติดต่อ
  • 5. ข้อมูลติดต่อ
    • เนื้อหาข้อมูลติดต่อ
    • แผนที่ปักหมุดใน Google Map

พื้นที่สำหรับเติมเว็บไซต์ของคุณ

จากตารางเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นที่ยกขึ้นมาเพื่อขยายความให้ท่านได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การทำ SITE MAP จะช่วยจำกัดขอบเขตเนื้อหาบนเว็บไซต์และหัวข้อในแต่ละหัวข้อที่ท่านต้องการบอกเล่าสู่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ไห้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเว็บไซต์มีระเบียบ ใช้งานง่าย ก็ไม่ยากที่ผู้ใช้และกูเกิ้ลจะหลงรักบ้านหลังนี้ของคุณ หรือหากท่านเล็งเห็นถึงช่องโหว่บางประการของเว็บไซต์ แปลว่า ท่านเริ่มจะสามารถมองเห็นแสงสว่างที่จะนำทางท่านสู่การทำอันดับ SEO บนกูเกิ้ลได้บ้างแล้ว

6. ตรวจสอบว่าบทความปัจจุบันของคุณนั้นง่ายต่อการอ่านมากน้อยเพียงใด

ข้อนี้เป็นทัศนของ Matt cuts ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing กล่าวเกี่ยวกับการทำอันดับ SEO บน Google ไว้ว่า ในอนาคต SEO จะเป็น Readability คอนเทนต์ในอนาคตจะต้องอ่านง่าย อ่านรู้เรื่อง เข้าใจได้ง่าย เป็นภาษาคนไม่ใช่หุ่นยนต์ โดยจะจำแนกเกณฑ์คะแนนเป็น

90 – 100 คะแนน = เด็ก 11 ขวบอ่านแล้วเข้าใจ
60 – 70 คะแนน = เด็กอายุ 13 – 15 อ่านแล้วเข้าใจ
0 – 30 คะแนน = คนเรียนมหาวิทยาลัยอ่านแล้วเข้าใจ

หากท่านพบว่าบทความบนเว็บไซต์ของท่านั้นยังคงยากต่อการทำความเข้าใจก็ควรรู้ไว้ว่า ท่านควรปรับ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป!

7. ตรวจดูว่าคุณมีโปรแกรมเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์คุณแล้วหรือยัง

สิ่งแรก คุณจำเป็นต้องโหลด Keyword Planner สำหรับการค้นหาหรือสร้างคีย์เวิร์ดดีๆ แนะนำให้ใช้งานบน Firefox และโหลดโปรแกรม SEO Quake หรือ KW Finders โปรแกรมเหล่านี้จะแสดงผล PR Rate , Index , Backlink , ระยะเวลาในการเปิดโดเมน และ เว็บไซต์ เพื่อง่ายต่อการประเมินอันดับเว็บไซต์ของคุณ โดย ส่วนสำคัญๆได้แก่

  • Page Rank หรือค่า PR สูงสุดจะอยู่ที่ 9-10 ส่วนมากเป็นของ Facebook
  • Trust Rank หรือ TR สุดยอดเว็บไซต์คุณภาพที่ Google ยอมรับ อยู่มานานแล้ว มีคนเข้าชมตลอดเวลา เช่น Sanook Kapook Mthai เป็นต้น
  • Click though rates หรือ CTR อธิบายง่ายๆคือ หากคนกดค้นหา เสื้อผ้าแฟชั่น เจอ 100 ครั้ง จำนวนคลิ๊กเข้าชมกี่ครั้ง? ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์ CTR เยอะยิ่งมีโอกาสติดอันดับมากยิ่งขึ้น
  • Time on site คือการที่ผู้เข้าชมยิ่งค้างอยู่หน้าดัวกล่าวนาน คือการที่ผู้ชมยิ่งสนใจมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งนานยิ่งเป็นผลดี

8. ตรวจเช็คสิ่งเหล่านี้ และ จงลบมันออกไปโดยเร็วที่สุด! หากท่านยังพบเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่บนเว็บไซต์ของท่าน

  • การสแปมคีย์เวิร์ด เพราะมันเป็นมุกเก่าที่กูเกิ้ลนั้นคงแสนจะเบื่อหน่ายเสียแล้วจึงปรับระบบให้ตัดคีย์เวิร์ดที่มีการสแปมออกจากกองมรดก นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้วยังทำให้คะแนนของเว็บไซต์นั้นติดลบอีกด้วย!!!
  • หากเว็บไซต์ของท่านยังมี Flash อยู่นั้น ก็เป็นอันรู้ว่าให้เปลี่ยนไปหาทางตัดทิ้งทันทีที่อ่านจบประโยคนี้เสียเลย เพราะจากผลสำรวจเว็บไซต์ที่ติด Flash นั้นมักไม่ติด SEO เลย จำง่ายๆคือ โมเดิร์น ใช้งานง่ายคล้ายมินิมอล น้อยแต่มากเรียบแต่โก้จะดีที่สุด
  • ไม่ควรเป็น B1 และ B2 กล้วยหอมจอมซนที่ลิงก์หากันทุกวันบนเว็บไซต์ (Link Exchange) ยิงลิงก์เกินจริง ซื้อลิงก์ หรือสแปมลิงก์บนเว็บบอร์ด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เว็บไซต์ของท่านดูน่าเชื่อถือน้อยลงมาก
  • ไม่ควรทำ “Click Bait” เพื่อหลอกล่อให้คลิ๊ก ตัวอย่างประโยคเช่น “อยากรู้….ก็ลองกดดูซิ”
  • ไม่ควรใส่ Head Term Keyword
  • ไม่ควรทำป๊อปอัพ โฆษณา ใหญ่เกินไปหรือเน้นขายเกินเหตุ เพราะกูเกิ้ลนั้นเน้นเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้าง Value แก่ผู้คนมากกว่างานขาย
  • ไม่ควรมีแค่คอนเทนต์ขายของเพียงอย่างเดียว
  • อย่ายัดไส้บทความ แม้เนื้อหาจำเป็นต้องมีเยอะแต่ไม่ควรก๊อปปี้บทความซ้ำมาวางให้ดูมีหลายหน้าบทความ

Only 1% better everyday

— It will be 31.18 times of today in 1 year. —